โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้และอัตราเวลาเรียน (เข้าชม 924 ครั้ง)
โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้และอัตราเวลาเรียน
โครงสร้างหลักสูตรหลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรการทำน้ำสมุนไพรจากลูกหมากเม่า ประสบการณ์ต่างๆที่จัดให้กับผู้เรียน ได้เรียนรู้มีทั้งหมด 5 หน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับลูกหมากเม่า หน่วยที่ 2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำหมากเม่า หน่วยที่ 3 ขั้นตอนการผลิตน้ำหมากเม่า หน่วยที่ 4 ประโยชน์ของน้ำหมากเม่า หน่วยที่ 5 การจัดจำหน่าย อัตราเวลาเรียนในแต่ละเนื้อหา
การวัดผลประเมินผล กำหนดอัตราส่วนเป็น ภาคทฤษฎี: ภาคปฏิบัติ 40: 60 รวมเวลา ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตรใช้เวลาเรียน 1 ภาคเรียน แต่ละภาคเรียนใช้เวลาเรียน 20 ชั่วโมง ในแต่ละสัปดาห์ใช้เวลาเรียน 1 คาบ/ชั่วโมง/สัปดาห์ ทั้งนี้เมื่อร่วมเวลาเรียนแล้วใช้เวลาเรียนทั้งหมด 20 คาบ หรือ 20 ชั่วโมง แนวทางการดำเนินการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Presentation) 1. ครูถามนักเรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของลูกหมากเม่า แล้วนำไปเขียนบนกระดานดำ ในกรณีที่นักเรียนไม่ทราบว่าจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร ครูอนุญาตให้พูดเป็นภาษาไทย แล้วให้นักเรียนคนอื่น ๆ ช่วยกันบอกเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าไม่มีผู้ใดบอกได้ ครูช่วยเขียนเป็นภาษาอังกฤษให้บนกระดานดำ แล้วย้ำให้นักเรียนออกเสียงคำศัพท์อาชีพแต่ละคำให้ถูกต้อง ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Practice) 2. สนทนากับนักเรียนโดยถามนักเรียนว่าลูกหมากเม่าคืออะไร 3. ให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียน แล้วถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับลูกหมากเม่าต่าง ๆในแต่ละภาพ 4.. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน เขียนประโยชน์ของลูกเม่า 5. นักเรียนช่วยกันเขียนบรรยายเกี่ยวกับลูกหมาเม่า ขั้นสรุปการเรียนรู้ (Production) 6. ให้นักเรียนทุกคนรับใบกิจกรรม เรื่องการทำน้ำสมุนไพรจากลูกหมากเม่า โดยครูให้ปฏิบัติตามคำชี้แจงในกิจกรรมและครูกำกับดูแลให้คำแนะนำแก่นักเรียนอย่างใกล้ชิด โดยเริ่มจาก 6.1 ครูอ่านทำความเข้าใจคำศัพท์เกี่ยวกับลูกหมากเม่า ในหนังสือเรียนและหาคำศัพท์เพิ่มเติมจาก dictionary พร้อมทั้งอธิบายให้นักเรียนฟัง 6.2 เมื่อนักเรียนเกิดความเข้าใจแล้วให้นักเรียนวาดรูปและเขียนบรรยายภาพลงในใบกิจกรรม สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้ 1. เนื้อหาวิชาการพัฒนาการทำน้ำสมุนไพรจากลูกหมากเม่า ประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง 2. ศึกษาดูงานชุมชนอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกจังหวัด 3. ใบความรู้ 4. การพบกลุ่มเรียนรู้ 5. ธนาคารเพื่อการเกษตร การวัดผลและประเมินผล วิธีการวัดและประเมินผลการเรียน ประกอบด้วย 1. การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ / การรับรู้ / การมีส่วนร่วม 2. การสังเกตการปฏิบัติจริงในการลงมือทำน้ำสมุนไพรจากลูกหมากเม่า 3. สมุดเยี่ยมแสดงความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว 4. กิจกรรมของกลุ่ม 5. ผลการโหลดผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยม |