หน่วยที่ 4 ประโยชน์ของน้ำหมากเม่า (เข้าชม 1546 ครั้ง)
หน่วยที่ 4 ประโยชน์ของน้ำหมากเม่า
1. ผลดิบสีเขียวอ่อน ประกอบอาหารคล้ายส้มตำเม่า
2. ผลแก่สีแดงมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่จัดสีดำม่วง จะมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้สด 3. ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบายและบำรุงสายตา ใบสดนำมาอังไฟเพื่อใช้ประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว เปลือกต้นเม่าใช้เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ 4. ผลหมากเม่าสุก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด แคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามิน B1 B2 C และ E 5. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น น้ำผลไม้ ไวน์เม่า แยม กวน สีธรรมชาติผสมอาหาร ฯลฯ 6. น้ำเม่าสกัดเข้มข้น 100% มีสารอาหาร วิตามินหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายรวมทั้ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ 7.ไวน์หมากเม่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง กัมมาลและคณะ (2546) ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียของสมุนไพรไทย 5ชนิด คือ มะเม่า ฟ้าทลายโจร หญ้าแห้วหมู ผักเป็ดแดง และสายน้ำผึ้ง พบว่า มะเม่า สายน้ำผึ้งและหญ้าแห้วหมู มีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ได้ คุณค่าทางด้านสมุนไพร การบริโภคผลหมากเม่าสุกในปริมาณที่พอเหมาะ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงสายตา ขับเสมหะ ฟอกโลหิต ใช้ใบหมากเม่านำไปอังไฟแล้วนำมาประคบ จะรักษาอาการฟกช้ำดำเขียวได้ ใบหมากเม่าสดนำมาตำพอกรักษาแผลฝีหนอง นำเอาหมากเม่าทั้งห้าคือ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ต้มดื่มเป็นประจำเป็นยาอายุวัฒนะ ยอดอ่อนหมากเม่ายังนำมารับประทานเป็นผักได้ คุณค่าทางอาหาร ของ ผลหมากเม่า พลังงาน 75.20 กิโลแคลลอรี่ /100 กรัม โปรตีน 0.63 กรัม /100กรัม เยื่อใย 0.79 กรัม /100กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.96 กรัม /100กรัม แคลเซียม 13.30 มิลลิกรัม /100กรัม เหล็ก 1.44 มิลลิกรัม /100กรัม วิตามิน ซี 8.97 กรัม /100กรัม วิตามิน บี1 4.50 ไมโครกรัม /100กรัม วิตามิน บี2 0.03 ไมโครกรัม /100กรัม วิตามิน อี 0.38 ไมโครกรัม /100กรัม น้ำเม่าสกัดเข้มข้น 100% เป็นอาหารบำรุงสุขภาพในลักษณะเดียวกับ น้ำพรุนสกัดเข้มข้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเนื่องจาก เม่า ซึ่งเป็น ผลไม้ในตระกูลเดียวกันกับ พรุน คือ ตระกูล เบอร์รี่ ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เม่า มีสารอาหาร และ วิตามิน หลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายรวมทั้งมี สารต้านอนุมูลอิสระ ใช้เป็นยาพื้นบ้านในหลายพื้นที่ เช่น เปลือกต้นเม่าเป็นส่วนประกอบของลูกประคบ สำหรับการนวดประคบเพื่อผ่อนคลายและรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผลสุก รับประทานเป็นผลไม้ ผลดิบ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนำมาประกอบอาหารคล้ายส้มตำ ปัจจุบันเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ เพาะปลูกขายต้นพันธุ์ ผล นำมาทำน้ำผลไม้และไวน์แดง ให้สีสันและรสชาติดี 1. การบริโภคผลดิบ (สีเขียวอ่อน) และผลสุกสีแดงที่มีรสเปรี้ยว จะนำมาทำเป็นส้มตำเม่า ส่วนผลสุกสีดำม่วงจะมีรสหวานอมเปรี้ยว โดยทั่วไปจะนำมารับประทานในลักษณะผลสดเลยก็ได้ 2. สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ได้หลายหลายชนิดได้แก่ 1) น้ำผลไม้ เช่น น้ำเม่า แท้ (pure juice) น้ำเม่าเข้มข้น (squash) น้ำเม่าพร้อมดื่ม เป็นต้น 2) สุราแช่ ได้แก่ ไวน์เม่า 3) อื่นๆ เช่น แยมเม่า เม่ากวนTopping เม่า (ลักษณะคล้ายคาราเมลใช้ราดไอศกรีม) เป็นต้น 3. สีสกัดจากเม่า น้ำคั้นที่ได้จากผลเม่าหลวงสุกจะให้สีม่วงเข้ม ซึ่งเกิดจากเม็ดสีในกลุ่มสาร xanthophyllsจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า สีที่ได้จะมีคุณสมบัติคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูง ไม่ว่าจะเป็นการต้มหรือนึ่ง จึงเหมาะที่จะนำมาทำสีผสมอาหาร ซึ่งเป็นสีที่ได้จากธรรมชาติและปลอดภัยต่อผู้บริโภค 4. ประโยชน์อื่นๆ จากต้นเม่า เช่น ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา ไม้ประดับ และหากต้นเม่ามีอายุมากกว่าสิบปีสามารถนำเนื้อไม้มาใช้ทำที่อยู่อาศัยและเฟอร์นิเจอร์ได้อีกด้วย ด้วยเหตุที่เม่าหลวงมีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะนำมาพัฒนาเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด และนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้หลายอย่าง ปัจจุบันอุปสงค์ของผลเม่าหลวงมีมากกว่าอุปทาน ทำให้ราคาของผลเม่าหลวงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เกษตรกรมีความสนใจที่จะปลูกเม่าหลวงมากขึ้น จากเดิมที่เคยเป็นพืชที่เกิดเองตามธรรมชาติ ปัจจุบันเกษตรกรเพิ่มพื้นที่ปลูกมากขึ้น จากการสำรวจต้นเม่าหลวงในเขตจังหวัดสกลนคร พบว่ามีทั้งหมดประมาณ 39,793 ต้น(สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร, 2545: 1) ความต้องการที่จะใช้ผลเม่าหลวงทั้งในรูปของการบริโภคผลสดและใช้ในการแปรรูปประมาณ 300-350 ตัน ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของเกษตรกรที่สนใจปลูกเม่าหลวงเชิงธุรกิจ จำเป็นต้องศึกษาสภาพการตลาดและการผลิตเม่าหลวง ต้นทุนการผลิตต่อไร่ ต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเพื่อการตั้งราคาสินค้าโดยพิจารณาต้นทุนเป็นหลัก (cost-plus pricing) ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าราคาที่กำหนดขึ้นไม่ทำให้ผู้ปลูกขาดทุน และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนด้านต้นทุน ที่จะนำเข้าสู่โรงงานเพื่อแปรรูปและพัฒนาเม่าหลวงให้เป็นพืชเศรษฐกิจต่อไป |